วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทผู้สอบบัญชีไว้ 5 หมวด
                           ในการกำหนด มรรยาทผู้สอบบัญชี ตามหลักสากลนิยม มีโครงสร้างดังต่อไปนี้

            1. หลักการพื้นฐาน  เป็นแนวคิดหรือหลักการสำคัญอันเป็นที่มาของข้อกำหนดมรรยาท
            2. ข้อกำหนด  เป็นบทบัญญัติที่กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชีเป็นข้อๆ ตามหลักการพื้นฐาน
            3. คำชี้แจง  เป็นคำอธิบายหลักการพื้นฐานและข้อกำหนดแต่ละข้อให้ชัดเจนในรายละเอียด รวมทั้งการยกตัวอย่างประกอบในบางกรณี
            4 . คำวินิจฉัย  เฉพาะกรณี เป็นผลของการพิจารณาที่เกิดขึ้นแล้ว
                    ได้กำหนดหลักการพื้นฐาน มรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ หมวด คือ
            1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
            2. ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
            3. มรรยาทต่อลูกค้า
            4. มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ
            5. มรรยาททั่วไป
                    รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
            1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
            ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต  ในการตรวจสอบและเสนอรายงานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือได้
                 ความเป็นอิสระ
        หมายถึง  การที่ผู้สอบบัญชีสามารถวางแผนการตรวจสอบและใช้วิธีการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอตลอดจนแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชี โดยไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ ความเป็นอิสระนี้จะต้องเป็นที่ประจักษ์ต่อบุคคลทั่วไปด้วยว่า ผู้สอบบัญชีไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่ตนสอบบัญชี เพื่อให้ผลงานของผู้สอบบัญชี เป็นที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร เจ้าหนี้ นักลงทุน และผู้อื่นที่ใช้งบการเงิน
             ความเที่ยงธรรม
        หมายถึง การใช้ดุลยพินิจโดยปราศจากความลำเอียง และการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างยุติธรรมและเป็นกลาง
             ความซื่อสัตย์สุจริต
        หมายถึง การประพฤติตรงจริงใจ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงิน ไม่แสดงตนว่าได้ตรวจสอบบัญชี ตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ถ้าตนไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานและจัดให้มีกระดาษทำการและหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อปลดเปลื้องหน้าที่ ของตนตามมาตรฐานการสอบบัญชี  
                2. ความรู้ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
            ในการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีต้องใช้ความรู้ความสามารถและความชำนาญงานในวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือได้ การที่จะสามารถปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ผู้สอบบัญชีต้องวางแผนและควบคุมงานสอบบัญชี จนสามารถรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบให้เป็นที่เพียงพอแก่การแสดงความเห็นในรายงานการสอบบัญชี โดยปราศจากการคาดคะเนรายการใดๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นของกิจการที่ตนรับสอบบัญชี เว้นแต่เป็นการประมาณการทางบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ตลอดจนจะต้องจัดทำรายงานการสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็น ว่างบการเงินถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใดจากหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบ
                3. มรรยาทต่อลูกค้า
                ผู้สอบบัญชีพึงให้บริการแก่ลูกค้า โดยสำนึกในหลักการและมรรยาทแห่งวิชาชีพในการนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถ และตามมาตรฐานการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และจะต้องไม่ละทิ้งงานที่รับตรวจสอบโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
                ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีอาจล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลใดๆ ที่พึงถือเป็นความลับของกิจการที่ตนตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลนั้นไปเปิดเผย ทั้งนี้รวมถึงการที่ผู้สอบบัญชีผู้ร่วมสำนักงาน หรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีจะต้องไม่นำข้อมูลที่ได้มาในระหว่างการปฏิบัติงานสอบบัญชีไปใช้ หรือเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าได้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือกรณีที่ต้องให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามกฎหมาย รวมทั้งกรณีที่เป็นการเรียกตรวจสอบโดยหน่วยราชการ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีจึงจะเปิดเผยได้
                4. มรรยาทต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ
                 ผู้สอบบัญชีควรให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพสอบบัญชี และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน
                ในกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานโดยผู้สอบบัญชีอื่น ผู้สอบบัญชีจะต้องไม่ทำงานเกินขอบเขตที่ตนได้รับมอบหมาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากผู้สอบบัญชีที่มอบหมายนั้นก่อน และจะต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการแย่งงานหรือแย่งผู้ช่วยผู้สอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีอื่น
                5. มรรยาททั่วไป
                 วิชาชีพสอบบัญชีเป็นวิชาชีพอิสระที่มีเกียรติ ผลงานของผู้สอบบัญชีเป็นที่เชื่อถือ ของบุคคลหลายฝ่ายรวมทั้งสาธารณชน ผู้สอบบัญชีจึงต้องปฏิบัติตนเพื่อรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาและส่งเสริมเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และพึงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม





ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ตามกฎหมายใหม่

หลังจากที่บทความเรื่อง สภาวิชาชีพบัญชี ได้พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว ก็มีผู้อ่านที่สนใจสอบถามมาว่า กฎหมายวิชาชีพบัญชีที่ออกมาใหม่ และใช้แทนกฎหมายผู้สอบบัญชีเดิมนั้น มีผลให้ผู้สอบบัญชีต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร ผู้เขียนจึงขอหยิบยกข้อกำหนดสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาพูดคุยให้ฟัง
            การจดทะเบียนเพื่อประกอบการ
            พ..วิชาชีพบัญชี พ.. 2547 กำหนดให้นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชี ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งรวมไปถึงนิติบุคคลที่ประกอบการด้านการทำบัญชีหรือให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยประราชกฤษฎีกาด้วย แต่ ...ผู้สอบบัญชี พ.. 2505 เดิม กำหนดเพียงให้บุคคลที่จะประกอบวิชาชีพให้บริการด้านการสอบบัญชีเท่านั้น ที่จะต้องไปจดทะเบียน และขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (.บช.) ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลที่มีผู้สอบบัญชีสังกัดอยู่ แม้จะประกอบกิจการให้บริการสอบบัญชี ก็ไม่ต้องไปจดทะเบียนแต่ประการใด
            ความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม
หลักประกันความรับผิดชอบ กฎหมายวิชาชีพบัญชีกำหนดให้นิติบุคคลที่จะจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อประกอบการเป็นนิติบุคคลให้บริการด้านการสอบบัญชีได้นั้น ต้องจัดให้มีหลักประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ซึ่งจะต้องจัดให้ครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่กฎหมายนี้มีผลใช้บังคับ โดยจะต้องเป็นไปตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่จะกำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งการกำหนดหลักประกันความรับผิดชอบนั้น กฎหมายได้บัญญัติให้คำนึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล และให้นำความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสภาวิชาชีพมาพิจารณาประกอบด้วย ข้อกำหนดในเรื่องหลักประกันความรับผิดชอบนี้ ครอบคลุมรวมไปถึงนิติบุคคลที่ประกอบกิจการทำบัญชี หรือให้บริการวิชาชีพบัญชีอื่นด้วย
คุณสมบัติของบุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล กฎหมายวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้บุคคลที่มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการการสอบบัญชี ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเท่านั้น โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสามปีนับจากวันที่กฎหมายมีผลบังคับ
                ความรับผิดต่อบุคคลที่สามอย่างลูกหนี้ร่วม
            ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม กฎหมายได้กำหนดให้นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ ร่วมรับผิดชอบด้วยอย่างลูกหนี้ร่วม ในกรณีที่ยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายตามความรับผิดชอบนั้นได้ครบจำนวน หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคลใด ซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวน เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับ
 
                สัญญาจ้างสอบบัญชี
              ในกฎหมายผู้สอบบัญชีเดิม มิได้กำหนดข้อบังคับที่เกี่ยวกับสัญญาจ้างสอบบัญชี แต่จะปรากฏเป็นแนวทางในการจัดทำอยู่ในมาตรฐานการสอบบัญชี อย่างไรก็ดี กฎหมายวิชาชีพบัญชีได้กำหนด มิให้มีข้อความใดในสัญญาจ้างสอบบัญชี ที่มีผลเป็นการจำกัดหรือปฏิเสธความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี มิฉะนั้นให้ถือเป็นโมฆะ ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ไม่ว่าจะมีต่อคู่สัญญาหรือบุคคลที่สาม จึงไม่อาจเขียนจำกัดขอบเขต หรือจำกัดความเสียหายที่ผู้สอบบัญชีจะรับผิดชอบ ไว้ในหนังสือจ้างสอบบัญชีได้ ดังเช่นที่ในต่างประเทศหลายแห่งยอมให้ผู้สอบบัญชีเขียนไว้ได้ เช่น จำกัดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายไว้ เป็นจำนวนเงินเท่ากับกี่เท่าของค่าสอบบัญชี เป็นต้น
                รายงานการสอบบัญชี
             ผู้สอบบัญชีจะรายงานผลการสอบบัญชี โดยระบุข้อความที่แสดงว่า ตนไม่รับผิดชอบในผลการตรวจสอบหรือแสดงความไม่ชัดเจนในผลการตรวจสอบ เพราะเหตุที่ตนมิได้ปฏิบัติหน้าที่ โดยครบถ้วนตามที่พึงคาดหวังจากผู้สอบบัญชี หรือโดยครบถ้วนตามมาตรฐานการสอบบัญชีมิได้ การกระทำดังกล่าวนี้ ให้ถือเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ซึ่งจะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ จะเห็นได้ว่า ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีตามกฎหมายใหม่นั้น เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ยิ่งผู้สอบบัญชีรวมตัวกันประกอบกิจการสอบบัญชีเป็นสำนักงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ยิ่งมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ให้บริการสอบบัญชี แม้จะไม่ใช่เป็นผู้สอบบัญชีของกิจการที่เกิดกรณีนั้นก็ตามวิชาชีพสอบบัญชีจึงกลายเป็นวิชาชีพที่มีความเสี่ยงสูงมากสำหรับผู้ประกอบการ ยิ่งกว่าวิชาชีพอื่นใด

 • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีโดยตรง 

                 • กฎหมายธุรกิจออกใหม่่ ประกอบด้วย กฎหมายธุรกิจ เศรษฐกิจ ปกครอง ทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือมีผลต่อการประกอบธุรกิจ ปรับปรุงเพิ่มเติมในปี 2551 โดยรวบรวมกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ประกาศตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ 

                 • กฎหมายธุรกิจที่เป็นภาษาอังกฤษ ได้รวบรวมมาจากหลายแหล่ง ส่วนมาคือเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ใช้กฎหมายนั้นๆ ซึ่งได้แปลไว้ 

            หมายเหตุ กฎหมายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะต่างๆ เช่น ความต้องการของสังคม นโยบายของผู้บริหารประเทศ หรือปัจจัยต่างๆ การนำเสนอข้อมูลกฎหมายในนักบัญชีดอทคอม มิได้มีความประสงค์ให้ใช้เพื่อการอ้างอิงโดยปราศจากการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายของผู้ใช้ เน้นย้ำว่า การใช้เพื่ออ้างอิง ควรใช้ดุลพินิจและตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเองก่อนเสมอ

                   วิชากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท)กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ประมวลรัษฎากร และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ และการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์